หากใครที่เคยเรียนวิทยาศาสตร์จะรู้ดีว่าเรื่องของการศึกษาสิ่งมีชีวิตทีอยู่บนโลกใบนี้ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือพืชล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าการศึกษาเรื่องราวเหล่านี้จะทำให้เกิดการพัฒนาสิ่งต่างๆ และเกิดการเรียนรู้ที่ดีในอนาคตได้ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งในเรื่องของโครงสร้างจึงมักเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เราจะเห็นกันบ่อยๆ ว่าเรื่องของโครงสร้างพืชนั้นเป็นสิ่งที่นักเรียนชอบจะนำเอามาใช้เพื่อทำการศึกษาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ ว่าแล้วก็ลองมาทำความรู้จักกับโครงสร้างของเซลล์พืชกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องขออธิบายความหมายของ เซลล์พืชกันก่อน เซลล์พืช คือ หน่วยย่อยของพืชทั้งในด้านของส่วนประกอบและในด้านการทำงานของตัวพืชเอง ซึ่งเซลล์ท้งหลายทั้งมวลเหล่านี้เกิดขึ้นจากเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ก่อนแล้วด้วยกระบวนการทางด้านของการแบ่งเซลล์
โครงสร้างของเซลล์พืช
- ผนังเซลล์ – จะประกอบด้วยสารจำพวกเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ หน้าที่หลักก็คือจะป้องกันอันตรายต่างๆ ให้กับเซลล์พืช ให้เซลล์ยังคงมีความแข็งแรงอยู่ อีกอย่างคือทำหน้าที่ยึดเซลล์เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดเป็นเนื้อเยื่อ
- เยื่อหุ้มเซลล์ – จะมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ประกอบไปด้วยโปรตีน และไขมันเป็นส่วนใหญ่ หน้าที่หลักคือการควบคุมปริมาณและชนิดของสารประเภทต่างๆ ที่เข้าออกจากเซลล์ จะมีรูขนาดเล็กเพื่อให้สารบางชนิดผ่านเข้าไปได้และไม่ให้บางอย่างผ่านเข้าไป
- ไซโทพลาซึม – เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นของเหลวภายในเซลล์ จะมีสารจำพวก เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน และอื่นๆ ที่สามารถละลายน้ำได้ จะประกอบไปด้วยหน่วยเล็กๆ ที่มีความสำคัญ เช่น ไมโทคอนเดีย ที่เป็นตัวผลิตพลังงานให้กับพืช, คลอโรพลาส ที่เป็นโครงสร้างพบได้เฉพาะในเซลล์พืช มีลักษณะเป็นสีเขียวเนื่องจากสารคลอโรฟิลด์ ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง, ไรโบโซม จะใช้สังเคราะห์โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้ข้างนอกเซลล์, กอลจิคอมเพล็กซ์ ทำหน้าที่สร้างคาร์โบไฮเดรตให้รวมกับโปรตีน, แวคิวโอล ที่ภายในจะมีพวกน้ำมัน ยาง และแก๊ส อยู่
- นิวเคลียส – จะมีหน้าที่หลักในการถ่ายทอดตัวพันธุกรรม ควบคุมการทำสังเคราะห์สารประกอบต่างๆ ของเซลล์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย นิวคลีโอพลาซึม – เป็นส่วนที่ใสภายในนิวเคลียส ประกอบด้วยสารเม็ดเล็กๆ รูปร่างจะไม่แน่นอน, ร่างแหนิวเคลียส จะมีลักษณะสานกันคล้ายๆ ร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัวก็จะกลายเป็นร่างแหโครโมโซม ที่จะมี DNA หรือ ยีน ที่จะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออก
- นิวคลีโอลัส – คือตำแหน่งที่ถูกติดสีเคมีบนตัวโครโมโซม จะมีสารประเภท DNA และ TNA จะทำหน้าที่หลักในด้านของการสร้างโปรตีนถือว่าล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มีความหมายด้วยกันทั้งสิ้น