แนะนำโครงการวิทยาศาสตร์ ง่าย ๆ ที่สามารถทำได้เอง

Invention science

โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการทำงานเพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ มีลำดับขั้น มีองค์ประกอบ ปัจจัย แนวทางในการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

  1. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เป็นการศึกษาตามสมมติฐานที่ได้ตั้งเอาไว้ เพื่อทดสอบว่าจะเป็นไปตามคาดหรือไม่ และเหตุผลที่เกิดเหตุการณ์แบบนั้นคืออะไร
  2. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เป็นการศึกษาด้วยวิธีรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แต่จะต้องมีการกำหนดขอบเขตของการสำรวจ ระบุเป้าหมายของการสำรวจให้ชัดเจน เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ตรงประเด็นแล้วก็ไม่เสียเวลามากเกินไป
  3. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นการคิดค้นสิ่งใหม่โดยใช้หลักการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ สิ่งประดิษฐ์ที่ว่านี้จะเป็นอะไรก็ได้ จะเป็นของเล่น ของใช้ หรือเครื่องมือที่ใช้พิสูจน์บางทฤษฎีในเชิงวิทยาศาสตร์ก็ได้
  4. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี เป็นการนำเอาทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่เดิม มานำเสนอภายใต้แนวความคิดใหม่ๆ พร้อมกับการสนับสนุนแนวคิดนั้นด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้

จากโครงงานทั้ง 4 ประเภทนี้ โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจเป็นโครงงานที่ทำได้ง่ายที่สุด ถ้าวางแผนดีๆ ก็จะใช้เงินทุน แรงงาน เวลาน้อยที่สุดด้วย

ตัวอย่างของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ทำได้ง่าย

อย่างที่ได้บอกไปข้างต้นแล้วว่า โครงงานวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่ง่ายที่สุดจะเป็นการสำรวจ แต่จะสำรวจอย่างไรถึงจะถูกต้อง และทำงานได้ไม่ยุ่งยากนัก เราลองมาดูตัวอย่างโครงงานเหล่านี้กัน

– โครงงานการสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของคนรุ่นใหม่

– โครงงานการสำรวจปริมาณหอยเชอร์รี่ที่เพิ่มขึ้นในฤดูเก็บเกี่ยว

– โครงงานการสำรวจปริมาณไข่ไก่ที่มีความไม่สมบูรณ์ในไก่วัยสาว

– โครงงานการสำรวจปริมาณประชากรในท้องที่ที่เข้ารับบริการด้านทันตกรรม

– โครงงานการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกในหมู่บ้านที่ให้ผลผลิตดี

– โครงงานการสำรวจอัตราผู้เสียชีวิตจากภัยหนาวในภาคเหนือประจำปี 2019

หลักการเลือกหัวข้อโครงงานให้ทำได้ง่าย

วิธีการเลือกหัวข้อโครงงานให้ทำได้ง่าย ต้องเริ่มจากการหาคำตอบให้กับสิ่งใกล้ตัวก่อนเป็นอันดับแรก อย่าไปคิดอะไรไกลเกินไป เช่น ลองมองดูก่อนว่ารอบตัวเรานี้มีปัญหาอะไรน่าสนใจบ้าง พื้นที่ที่อาศัยอยู่ผู้คนประกอบอาชีพอะไร มีวัตถุดิบอะไรบ้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เมื่อเจอแล้วก็ค่อยขยายผลออกไปให้เป็นหัวเรื่องที่มีประโยชน์ในการทำไม่ทางใดก็ทางหนึ่งดังตัวเลือกต่อไปนี้

– เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ประโยชน์ในอนาคต

– เพื่อให้เล็งเห็นต้นตอของปัญหาแล้วต่อยอดไปสู่การแก้ปัญหาที่เหมาะสม

– เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นจุดดี และจุดด้อย

– เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญบางอย่าง

– เพื่อส่งเสริมนโยบายบางอย่างของชุมชนที่กำลังทำอยู่

เทคนิคการวางแผนการทำโครงงาน

เมื่อได้หัวข้อสำหรับการทำโครงงานมาแล้วก็อย่ารีบร้อนลงมือทำ ต้องมีการวางแผนในทุกขั้นตอนการทำงานให้ดีเสียก่อน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างแรกคือกำหนดขอบเขตของการทำโครงงานให้ชัดเจนที่สุด ถ้าเป็นการสำรวจต้องระบุเส้นแบ่งพื้นที่สำรวจให้ชัดเจน ต้องทำความเข้าใจกับคนให้ทีมด้วย ต่อมาให้ร่างกระบวนการคร่าวๆ ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ต้องติดต่อใครหรือไม่ ต้องรวบรวมข้อมูลอย่างไรถึงจะไม่ตกหล่นคาดว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นระหว่างการทำโครงการหรือไม่ ถ้ามีจะแก้ไขอย่างไรต่อไป

การลงรายละเอียดแบบนี้จะลดความขัดแย้งภายในทีมได้มาก แล้วก็สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้งานเดินหน้าได้เร็วด้วย นอกจากการวางแผนในช่วงเริ่มต้นแล้ว ก็ต้องมีการกำหนดวิธีวัด และติดตามผลงานระหว่างทางด้วย เพื่อตรวจสอบว่าตอนนี้คนในทีมทำงานไปตามเส้นทางที่วางไว้หรือไม่ มีปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไรไป ต้องเพิ่มตัวช่วยพิเศษในกรณีไหนบ้าง แค่นี้การทำโครงงานก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย