นักวิทยาศาสตร์ไทยมีชื่อเสียงมากที่สุด

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 4 กษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ ท่านทรงได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งวงการวิทยาศาสตร์ของไทย พระองค์ทรงพระปรีชามีความรู้ในด้านต่างๆมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ภาษาตะวันตก , ภาษาตะวันออก , ปรัชญา วิทยาศาสตร์ , ดาราศาสตร์ เป็นต้น พระองค์ทรงศึกษาทั้งภาษาลาตินและภาษาอังกฤษ จนความรู้แตกฉานนำมาใช้งานได้เป็นอย่างดี ทำให้พระองค์ได้ติดต่อกับชาวตะวันตก ได้หนังสือต่างประเทศหลายวิชา ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มพูนความรู้เป็นอย่างมาก

ผลงานทางวิทยาศาสตร์ของพระองค์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

วางรากฐานวิทยาศาสตร์ให้กับประเทศไทย

โดยพระองค์ทรงสถาปนาเวลามาตรฐานขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ.2395  โดยมีจุดประสงค์พื่อใช้เป็นหอนาฬิการักษาเวลาซึ่งจะเป็นมาตรฐานให้กับประเทศไทย โดยมีการนำมาเปรียบเทียบกับระบบดาราศาสตร์ด้วยพระองค์เอง ต่อมาเมื่อทางต่างประเทศได้มีการใช้ Meridien  เป็นมาตรฐานในการเทียบเวลาโลก พระองค์ก็ได้ใช้เวลานี้ในการคำนวณการเกิดสุริยุปราคา ณ หว้ากอ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่าพระองค์ทรงวางรากฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่ประเทศไทยนับตั้งแต่นั้นมา

หากพูดถึงผลงานด้านการวิจัยยอดนิยมในสมัยนั้น บรรดานักดาราศาสตร์จำนวนมากพุ่งเป้าความสนใจไปยังการหาวิธีคำนวณตำแหน่งของดวงจันทร์ ซึ่งการที่มันโคจรรอบโลกภายใต้ความรบกวนจากดวงอาทิตย์นั้น ยังส่งผลให้ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ มันก็ยังได้รับความรบกวนจากดาวเคราะห์ดวงอื่นๆอีกด้วย จากการวิจัยนี้พระองค์ก็ทรงให้ความสนใจและเข้าร่วมในงานวิจัยในเรื่องนี้  ซึ่งมีการใช้การคำนวณจากการเกิดสุริยุปราคา โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

  • วิธีคำนวณหาตำแหน่งของดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ โดยใช้ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เป็นหลัก ผล ปรากฏว่าท่านทรงสามารถทำการคำนวณตำแหน่งของการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งการคำนวณว่าจะเกิดอุปราคาหรือไม่ หรือถ้าเกิดจะเกิดลักษณะใด ยกตัวอย่างเช่น มีลักษณะมืดทึบหมดดวง หรือปรากฏให้เห็นบางส่วน ซึ่งจากข้อสงสัยเหล่านี้พระองค์ก็ทรงคำนวณได้อย่างถูกต้อง ว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ที่น่าทึ่งก็คือเป็นคำนวณล่วงหน้าถึง 2 ปี
  • ด้านดาราศาสตร์การเดินเรือ คือ ท่านทรงคำนวณหาตำแหน่งจากเส้นรุ้งเส้นแวงของเรือพระที่นั่งกลไฟจากกลางทะเล ได้อย่างถูกต้องด้วยพระองค์เอง มีวิธีคำนวณคือทรงทำการวัดจากมุมสูงของดวงอาทิตย์ด้วยกล้อง Sextant หลังจากนั้นก็นำมาเทียบกับเส้นแวงซึ่งผ่าน Meridien ของพระที่นั่งภูวดล  แต่ภายหลังจากพระองค์เสด็จกลับจากทอดพระเนตรสุริยุปราคา ได้แค่ 5 วัน พระองค์ก็ทรงพระประชวรอย่างหนักและเสด็จสวรรคต ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2411 ทรงมีพระชนมายุ 65 พรรษา ด้วยเหตุนี้ทางสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จึงร่วมใจกันน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาให้แก่พระองค์ว่า บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย